กิจกรรมศิลปะ

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 19 ธันวาคม 2551

สวัสดีค่ะ คงไม่เป็นไรนะค่ะที่พึ่งจะนึกขยันเอาวันนี้ หลังจากที่ห่างหายจากหน้าจอคอมไปหลายวัน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2551 อาจารย์ได้นำวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษามาสอน เพราะเนื่องจากเมื่อวันพุธที่ผ่านมาไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากติดสอบกลางภาค ในบรรยากาศการเรียนการสอนยังคงเหมือนเดิมฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง จึงทำให้ข้าพเจ้าพอที่จะสรุปสาระที่ได้ดังนี้

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวมอ่าน
– เขียน เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมดมีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ
- ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…และอาจารย์ยังได้เสริมถึงเรื่องกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้ทางภาษาได้เช่น 1.การเล่าสิ่งที่ตนเองรัก 2.การเล่าข่าวหรือกิจกรรมที่ตนเองได้ไปพบเจอมา
สิ่งสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพ

ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”
ขั้นที่สอง จะผูกพันกับตัวอักษร
ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......
ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

การรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)
ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”
เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร
ระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผนเด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้นคำแทนคำต่างๆ เช่น ก.ไก่ ก.กุ้ง ก.กิน ก.กางเกง ก.แก้ว ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น: