กิจกรรมศิลปะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 7 มกราคม 2552

สวัสดีค่ะหลังจากที่ห่างหายไปนานในช่วงปีใหม่ หวังว่าเพื่อนๆคงจะมีความสุขกับการฉลองงานเลี้ยงในปีนี้นะค่ะ สวัสดีปีใหม่ย้อนหลังคงไม่ว่ากันนะ
หลังจากที่ได้เรียนเมื่อในวันพุธ ที่ 7 มกราคม 2552 บรรยากาศรู้สึกว่าจะวุ่นวายมาก เพราะอาจารย์ไม่อยู่แต่ได้สั่งงานไว้ ซึ่งพอที่จะสรุปสาระได้ดังนี้

การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้

การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก

- มุมบ้าน เด็กจะเข้ามาในบ้าน พูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รีดเสื้อผ้า ล้างชามในครัว ทำครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษ ดินสอ ให้บันทึกข้อความจากการโทรศัพท์ถึงคุณแม่คุณพ่อมีการจดรายการเตรียมไปจ่ายตลาดกับคุณแม่
- มุมหมอ เด็กจะได้เล่นบทบาทสมมติเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในอธิบายอาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ โดยจดการนัดหมายลงในสมุดนัดคนไข้ คุณหมอมีการเขียนใบวินิจฉัยโรค และเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ แม้เด็กจะยังเขียนไม่เป็น แต่ก็จะชอบหัดเขียน
- มุมตลาด เด็กได้ฝึกหัดการสนทนาสื่อสาร โต้ตอบระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย ใช้เครื่องมือ ชั่ง น้ำหนัก ตวง วัดปริมาณ คำนวณเงินในการใช้จ่าย เงินทอน
- มุมจราจร เด็กได้เรียนรู้สัญลักษณ์จราจร การปฏิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ รู้จักทิศทาง ซ้าย ขวา การแสดงบทบาทต่าง ๆ

***มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษ ดินสอ สื่อ อุปกรณ์ หนังสือขั้นตอนการทำงานไว้ชัดเจนแล้วเด็กจะเข้าไปเล่นเรียนรู้ได้เองทั้งที่ต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู เด็กจะสนทนาหรือขีดเขียนในสิ่งที่ ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก
ครูต้องมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวเด็กว่าเขาสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้ามีความสนใจ มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งครูทุกคนต้องสังเกตตลอดเวลาให้เกิดเป็นประสบการณ์ตรงของครู สร้างองค์ความรู้ด้านพัฒนาการของเด็กที่เป็นความรู้ประจักษ์อยู่ในงานของครูเอง

บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้นซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิดหรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือกและจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียนเพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ

บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียนสิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิดซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิกคล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้องการ

ประเมินผล
ครูพิจารณาจากการสังเกต การบันทึกการเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทํากิจกรรมต่างๆ และการสะสมชิ้นงาน เป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง




วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 19 ธันวาคม 2551

สวัสดีค่ะ คงไม่เป็นไรนะค่ะที่พึ่งจะนึกขยันเอาวันนี้ หลังจากที่ห่างหายจากหน้าจอคอมไปหลายวัน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2551 อาจารย์ได้นำวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษามาสอน เพราะเนื่องจากเมื่อวันพุธที่ผ่านมาไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากติดสอบกลางภาค ในบรรยากาศการเรียนการสอนยังคงเหมือนเดิมฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง จึงทำให้ข้าพเจ้าพอที่จะสรุปสาระที่ได้ดังนี้

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวมอ่าน
– เขียน เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมดมีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ
- ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็ก

ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…และอาจารย์ยังได้เสริมถึงเรื่องกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้ทางภาษาได้เช่น 1.การเล่าสิ่งที่ตนเองรัก 2.การเล่าข่าวหรือกิจกรรมที่ตนเองได้ไปพบเจอมา
สิ่งสำคัญ คือผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟังเยอะๆ และสอนให้เด็กกวาดสายตา หาความหมายจากภาพ

ขั้นของพัฒนาการทางการอ่าน
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก พัฒนาการในขั้นนี้กู๊ดแมน เรียกว่า “รากเหง้าของการอ่าน เขียน”
ขั้นที่สอง จะผูกพันกับตัวอักษร
ขั้นที่สาม เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักษร ตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวา หากบอกให้เด็ก......
ขั้นสุดท้าย ระบบตัวอักษร

การรับรู้ด้านพัฒนาการทางเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก แยกแยะความต่างระหว่าสัญลักษณ์ เช่น ม. กับ ฆ มีการจัดเรียงอักษรเป็นเส้นตรง บางครั้งจะใช้สัญลักษณ์แทนคำหนึ่งคำ เช่น คำว่า รัก สัญลักษณ์คือ ใจการเขียนจะสัมพันธ์กับตัวอักษรมากกว่ารูปร่าง จะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ระยะที่สอง เขียนตัวอักษรที่ต่างกับสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด เด็กจะแสดงความแตกต่างของข้อความแต่ละข้อความโดยการเขียนอักษรที่ต่างกัน โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม เช่น จากอาจารย์ได้ยกตัวอย่างคือ "พจมรรน"(พี่จ๋ามาเร็วๆนะ)
ใช้ตัวอักษรจำนวนจำกัดนี้เขียนทุกสิ่งที่เธอต้องการ ด้วยการจัดเรียงตัวอักษรเหล่านั้นให้มีลักษณะแตกต่างกันแล้วเธอบอกว่า “หนูไม่รู้วิธีการอ่าน แต่พ่อหนูรู้ค่ะ”
เด็กจะเริ่มตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเขียนกับคำและความหมาย แม้ว่าเด็กยังไม่แยกความแตกต่างระหว่างเสียงและตัวอักษร
ระยะที่สาม เป็นลักษณะที่เด็กออกเสียงในขณะเขียนและการเขียนของเด็กจะเริ่มใกล้เคียงกับการเขียนตามแบบแผนเด็กจะใช้พยัญชนะเริ่มต้นคำแทนคำต่างๆ เช่น ก.ไก่ ก.กุ้ง ก.กิน ก.กางเกง ก.แก้ว ฯลฯ

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 3 ธันวาคม 2551



สวัสดีค่ะ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้ทบทวนความรุ้เดิมของสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นวันที่ข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียนเพราะไปต่างจังหวัดแต่ก็เป็นเรื่องที่นับว่าโชคดีมากๆที่อาจารย์ได้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถพอสรุปได้ดังนี้
- ทฤษฏีเป็นกุญแจสำคัญที่สะท้อนการติดต่อของครู
- ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษา
เทคนิกการนำเข้าสู่บทเรียน
- การร้องเพลง
- การเล่านิทาน
- ปริศนาคำถาม
- คำคล้องจอง
- เกม เช่น ภาพตัดต่อ จับคู่ภาพ
ขั้นสอน
- การสาธิตกระบวนการทำ เพราะการสาธิตเป็นลำดับขั้นตอน
การสอนภาษาโดยองค์รวม
นักการศึกษาได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการศึกษาโดยองค์รวมไว้ดังนี้
เพียเจต์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนใหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ ขั้นภายในตนเองโดยเด็กเป็นผู้กระทำ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเองจึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและรายบุคคล
ไวกอตสกี
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการและกิจกรรมนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์
บริบทสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษาและเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆกัน
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษาหลังจากเรียนเนื้อหา
กระบวนการเรียน
บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาไดอย่างไร
การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้าง
การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
การฟังและพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้ เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้พูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การซักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
การอ่านและเขียน
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องท่อ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นคือรวมทั้งหมดที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียนที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเต่เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือหรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอัการอย่างธรรมชาติจากการฟังมากได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง การอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ การอ่านแผ่นป้ายโฆษณาบนถนน จากสิ่งรอบตัว จากถุงขนม
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครู-เด็กเขียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
อ่าน - เขียน
- เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถุกต้องทั้งหมด






วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 19 พ.ย. 2551

สวัสดีค่ะ ในเมื่อวันพุธ ที่ 19 ที่ผ่านมาได้มีเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้พูดเกริ่นนำก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน ทั้งในเรื่องของการเล่านิทาน การร้องเพลงว่าเด็กได้ประโยชน์อย่างไรในเรื่องของภาษาจากการฟังนิทานและการร้องเพลง ซึ่งในระหว่งเรียนได้ทำกิจกรรมหลายอย่างเช่น กิจกรรมร้องเพลง โดยอาจารย์ให้ร้องเพลงคนละ 1 เพลง ข้าพเจ้าเลือกเพลง "ตา หู จมูก ปาก" ส่วนกิจกรรมที่2 คือ กิจกรรมการโฆษณา กิจกรรมนี้เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ ซึ่งอาจารย์มีโจทย์มาว่าสิ่งของที่จะเสนอขายให้คิดว่าเบื่อแล้ว จึงอยากจะขาย โดยจะมีวิธีเสนอขายอย่างไรให้ดึงดูดใจผู้บริโภคมากที่สุด สิ่งของที่ข้าพเจ้านำมาเสนอขายคือ "กระเป๋าอเนกประสงค์" และอีกกิจกรรมหนึ่งคือ กิจกรรมการกล่าวความดี กิจกรรมนี้อาจารย์ได้ให้นั่งสมาธิแล้วนึกถึงความดีที่เราจะทำให้กับบุคคลรอบข้างเช่น คุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งความดีที่ข้าพเจ้าจะทำคือ การเป็นคนดีของสังคม พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
นอกจากนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. การที่คนเราจะเกิดการเรียนรู้ใหม่ได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. ภาษาเป็นหนึ่งในทางด้านสติปัญญาที่มีสมองเป็นตัวควบคุม
3. สมองเด็กทำงานโดย "การซึมซับ"
4. เครื่องมือที่ซึมซับของเด็กคือ"ประสาทสัมผัสทั้ง 5"
5. พัฒนาการสมองตามลำดับขั้นของเด็ก
ช่วงแรกเกิดถึง 4 ขวบ
- ทารกแรกเกิดมีความสามารถในการฟังและจำเสียงแม่ การแยกความแตกต่างของเสียงได้
- เด็กจะแยกเสียงสูงต่ำได้
- เด็กจะเริ่มฟังเสียงที่ตนพอใจ และตอบสนองต่อเสียงนั้นได้ เช่น หันไปมองตามทิศทางของเสียง
- เด็กจะเริ่มเข้าใจความหมายของคำได้ โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นกับเสียงที่ได้ยิน
- เด็กจะเรียนรู้ศัพท์ต่างๆ ได้มากขึ้น
- เด็กจะรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างน้อย 5 ส่วน ชี้รูปภาพได้ 2-3 รูป
- เข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น เอาบอลวางใต้โต๊ะ
- สามารถเข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบได้
ช่วง 4-5 ปี
- เริ่มใช้คำเป็นประโยคได้มากขึ้น
- เริ่มบอกเหตุผลอย่างที่ตาเห็นได้ (พอสมควร)
ช่วงปลายๆ 5 ขอบ (ขั้นอนุรักษ์)
- เริ่มให้เหตุผลที่ดีได้
- การคิดเชิงอนุรักษ์
6. เทคนิคการตั้งคำถาม (กิจกรรมวาดภาพ)
- อยากให้รูปที่วาดเป็นอะไร
- เวลาที่วาดนึกถึงอะไร



วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความรู้สึก


สวัสดีค่ะ เมื่อวานนี้เรียนสนุกมากเพราะอาจารย์พาไปเรียนที่ห้องคอมสอนทำ Blog ทำไปเล่นไป ไม่ค่อยมีใครสนใจอาจารย์ เสียงก็เริ่มแหบลง (น่าสงสาร) แต่ก็ทำทันที่อาจารย์สอนเพราะ...เพื่อนแท้ๆ พอหมดคาบอาจารย์บอกว่าให้เก็บแป้น เก็บเม้าส์ เก็บ...ให้เรีบยร้อย ไอ้เราก็หวังดีกะจะเก็บให้แต่เกรงใจ (เก็บใส่กระเป๋า) กลัวเจ้าหน้าที่จะเขาว่า